บทที่ 7 การเรียนรู้

ความหมายของการเรียนรู้
ถ้าถามว่า “การเรียนรู้คืออะไร” คนทั้วไปที่ไม่ได้อยู่ในวงการศึกษาจะตอบต่างๆกันว่า การเรียนคือ “การรู้ความจริง”  “การปรับตัวใหม่ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม” “การจดจำได้”  “การปฎิบัติทดลอง” ผู้ที่อยู่ในแวดวังจิตวิทยาก็จะให้ทัศนคติต่างๆกันว่า การเรียนคือ“การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของอินทรีย์” “การจัดชีวิตให้อยู่ในสมดุล”“การเปลี่ยนแปลงที่พึงประสงค์” “การเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้า” “การได้มีประสบการณืใหม่เพิ่มขึ้น”“การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการปฎิบัติ” ซึ่งแท้จริงแล้วคำตอบเหล่านี้เป็นทัศนความหมายของ “การเรียน” ในแง่ของทางจิตวิทยาที่ถูกต้องยอมรับได้ทั้งสิ้น
ความเป็นมา
ในศตวรรษที่ 18 และ 19 นักปรัชญาชาวอังกฤษ ได้นำเอาหลักเบื้องต้นของความสัมพันธ์ของอริสโตเติ้ลไปเผยแพร่ และเพิ่มเติมความคิดว่าประสบการณ์ในการเรียนรู้จะทำให้มนุษย์รวบรวมแนวความคิดทั่วไปให้กลายเป็นแนวความคิดที่ซับซ้อน โดยอาศัยหลักด้านความสัมพันธ์ แต่ว่าความเชื่อถือเหล่านี้ยังมิได้มีการใช้หลักวิทยาสาสตร์เข้าช่วยจนกระทั่งในปลายศตวรรษที่ 19 มีการเริ่มศึกษาเรื่องการเรียนโดยวิธีวิทยาศาสตร์ ปี ค.ศ. 1879-1885 เอบบิงฮอส (Ebbinghaus) ได้นำหลักวิทยาศาสตร์เข้ามาใช้ในการศึกษาค้นคว้าทอลองเรื่องการเรียนรู้และความจำ และตีพิมพ์เผยแพร่ผลการทดลองของเขานับว่ามีความสำคัยต่อด้านจิตวิทยามาก เพราะเป็นความพยายามที่จะประยุกต์วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษากระบวนการทางสมอง คือกระบวนการเรียนรู้นับว่าเป็นก้าวที่สำคัญของการศึกษาเรื่องการเรียนรู้ หลังจากนั้นกระบวนการเรียนรู้ก็ไดเมีนักจิตวิทยาสนใจศึกษาและวิเคราะห์กันอย่างกว้างขวางดังเช่น ธอร์นไดค์ (Thorndike) ได้ทดลองและตั้งทฤษฎีการเรียนรู้ โดยใช้ Puzzle box กับแมวหิว
กระบวนการการเรียนรู้
อาจเกิดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายหรืออาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่ได้มีการตั้งจุดมุ่งหมายของการเรียนรู้ไว้ก่อนก็ได้ การเกิดการเรียนรู้ของบุคคลจะมีกระบวนการ 5 ขั้นตอนดังนี้ คือมี สิ่งเร้า (Stimulus) มาเร้าอินทรีย์ (Organism) ประสาทก็ตื่นตัวเกิดการรับสัมผัสหรือเพทนาการ (Sensation) ด้วยประสาททั้ง 5 แล้วส่งกระแสสัมผัสไปยังระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดการแปลความหมายขึ้นโดยอาศัยประสบการณ์เดิมและอื่นๆ เรียกว่า สัญชาน หรือ การรับรู้ (Perception) เมื่อแปลความหมายแล้วก็จะมีการสรุปผลของการรับรู้เป็นความคิดรวบยอดเรียกว่า เกิดสังกัป (Conception) แล้วมีปฎิกริยาตอบสนอง (Response) อย่างหนึ่งอย่างใดต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่า การเรียนรู้ได้เกิดขึ้นแล้ว ประเมินผลที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แล้ว