วิชาความรู้เบื้องต้นทางธุรกิจระหว่างประเทศ

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปทางธุรกิจระหว่างประเทศ
ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 การขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจากจุดวิกฤติเนื่องจากราคาน้ำมันโลกจนมาถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว และกลับมาเป็นวิกฤติเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจและค่าเงินบาทในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2541 สถานการณ์เหล่านี้ได้รับการกล่าวถึงไม่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ได้รับการวิพากษ์ไปทั่วดลกพร้อมทั้งได้รับการวิเคราะห์ถึงสาเหตุต่างๆมากมาย
บทที่ 2 สภาพแวดล้อมในการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ
การบริหารธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ ต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินงานสำหรับกิจการที่ดำเนินงานในระดับนานาชาติ ต้องพบสภาพแวดล้อมหลากหลาย เช่นสภาพแวดล้อมในประเทศที่เริ่มกิจการ สภาพแวดล้อมในประเทศที่มีกิจการขยายขอบเขตการดำเนินงานไปและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับสถานการณ์ระหว่างประเทศ ทำให้ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่มีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ
บทที่ 4 ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ
ธุรกิจการค้ามีพื้นฐานจากการแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆระหว่างบุคคลและกลุ่มบุคคล ปัจจัยที่เกี่ยวข้องในเบื้องแรกนอกเหนือจากเวลา ได้แก่ปัจจัยที่เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการและปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้บริโภค ดังนั้นการค้าจะขยายวงกว้างเท่าใดนั้นนอกเหนือจากตัวสินค้าและบริการแล้ว ตัวผู้บริโภคเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเสริมสร้างปริมาณการค้า
บทที่ 5 บทบาทของวัฒนธรรมกับการจัดการระหว่างประเทศ
วัฒนธรรม เป็นระบบคุณค่าและบรรทัดฐานร่วมกับของกลุ่มบุคคลที่จะนำไปสู่รูปแบบของการดำรงชีวิต ซึ่งมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น กำหนดขึ้นเป็นรุปแบบในการดำรงชีวิต เมื่อมนุษย์ได้สร้างวัฒนธรรมขึ้นมาแล้วจึงสอนให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ หรือนำไปปฏิบัติ ดังนั้น วัฒนธรรมจึงต้องมีการเรียนรู้และมีการถ่ายทอด
บทที่ 7 กลยุทธ์การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ
การจัดการเชิงกลยุทธ์ หมายถึงบริหารงานที่คำนึงถึงเป้าหมายระยะยาว และทำการกำหนดแผนการในการจัดสรรทรัพยากรทุกด้านของหน่วยงาน เพื่อใช้ในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า ดังนั้นเมื่อมีการกล่าวถึงกลยุทธ์จะต้องมีการกำหนดเป้าหมายระยะยาว เนื่องจากเป้ามหายระยะยาวทำให้ผู้บริหารทราบว่าจะบริหารองค์การเพื่อให้ได้อะไรในอนาคต
บทที่ 8 โครงสร้างของบริษัทข้ามชาติ
โครงสร้างองค์การเป็นพื้นฐานต่อการขับเคลื่อนกิจกรรมทุกชนิดในองค์การ โครงสร้างองค์การประกอบไปด้วยการแบ่งหน่วยงาน การกำหนดวิธีปฏิบัติต่างๆรวมทั้งระเบียบข้อบังคับที่มีผลต่อการดำเนินงานทุกชนิดที่เกิดขึ้นในองค์การ สำหรับองค์การของธุรกิขขนาดใหญ่ที่มีธุรกรรมข้ามชาติที่มีภารกิจที่ครอบคลุมกว้างขวางทั้งในด้านหน้าที่ ปริมาณและขอบเขตที่ต้องเกี่ยวข้องกับภารกิจในประเทศต่างๆ